ไม้เรียวสร้างคน ?

              การ ใช้ไม้เรียวกับนักเรียนเสมือนดาบ 2 คม ถ้าครูตีนักเรียนเพื่อระบายอารมณ์ของตนเองแบบไม่มีเหตุผลหรือใช้ไม้เรียว เกินกว่าคำว่าเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนให้หลาบจำ ก็ต้องมีเรื่องมีราวขึ้นโรงขึ้นศาลกันไป  ส่วนผลกระทบทางอ้อมอาจเกิดขึ้นต่อภาวะจิตใจของนักเรียนเองโดยอาจแสดง พฤติกรรมแนวต้านออกมา   ส่วนตัวผู้เขียนเองสนับสนุนให้ครูได้ใช้ไม้เรียวเหมือนเดิมแต่การใช้ไม้ เรียวทำโทษเด็ก ครูผู้ใช้ต้องมีเหตุผลอบรมชี้แจงให้เด็กเข้าใจก่อนทำโทษเพราะขึ้นชื่อ ว่าครูเปรียบเสมือนพ่อแม่คนที่สองเด็กนักเรียนย่อมเชื่อฟังเป็นพื้นฐานใน จิตใจของเขาอยู่ก่อนแล้ว ครูต้องมีจิตใจโอบอ้อมอารีรักเมตตาเป็นเบื้องต้น ไม่ใช่ใช้ไม้เรียวกับนักเรียนจนขาดสติ

            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.. ๒๕๔๘   ให้ความหมายว่า การลงโทษหมาย ความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน ....ข้อ ๖ ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา ให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดีของนักเรียนหรือนัก ศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป 

 

             

              การใช้ไม้เรียวเพื่ออบรมบ่มนิสัยนั้น ส่วนตัวคิดว่าสมควรใช้กับระดับประถมเพราะเด็กวัยนี้เป็นช่วงวัยที่สมควรได้ รับการอบรมสั่งสอนมากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ เขาพร้อมรับกับสิ่งที่เราปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เมื่อเติบโตจิตสำนึกที่ดีงามจะกำหนดวุฒิภาวะทัศนคติและคุณธรรมในการดำเนิน ชีวิตของเขาเอง  ถ้าใช้ ไม้เรียวในระดับมัธยมแล้วบางครั้งมันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเท่าไหร่หรือจำ เป็นต้องใช้จริง ๆ ก็ควรใช้อย่างมีวิจารณญาณเพราะเด็กวัยนี้ความคิดความอ่านควบคุมยาก บางครั้งครูเองอาจจะควบคุมอารมณ์ตนเองไม่อยู่พลอยจะยุ่งกันไปใหญ่ สุภาษิตที่ว่ารักวัวให้ผูกรักลูกให้ตีหรือไม้เรียวสร้างคนให้เป็น รัฐมนตรีนำมาใช้ในสมัยนี้แล้วอาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควรในทุกครอบครัว  เพราะเด็กสมัยนี้บางคนก็ไม่กลัวอะไรเลยแถมหัวหมออีกต่างหากยิ่งถ้าผู้ปกครอง รักลูกตนเองแบบถวายหัวพ่วงด้วยนักสิทธิมนุษยชนออกมาร่ายรำด้วยยิ่งหนักเข้า ไปใหญ่ ประสาแค่ไม้เรียว ชิว ๆ”..  สังคมปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งมักเลี้ยงลูกด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือใช้เงินดูแลแทนตนเองเสมอเพราะไม่มีเวลาต้องหาเงินเช้าค่ำ ก็น่าเห็นใจไม่รู้จะติงตรงไหนมันพ่วงเป็นลูกโซ่แบบมีเหตุผลไปหมด ก็ได้แต่ช่วยกันตระหนักคิดในสิ่งเหล่านี้กันให้มาก ๆ

               จากกระแส สังคมมุ่งเน้นจากกรณีลงโทษเด็กนักเรียนของครูเกินกว่าเหตุที่มีให้เห็นเป็น ประจำตามหน้าสื่อซึ่งสอดคล้องกับการใช้กำลังไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหาของ ครูที่มีต่อเด็กนักเรียน ยิ่งปัจจุบันพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 ระบุว่า”....ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้บุคคลใด...กระทำ หรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายจิตใจของเด็ก... กรอบของกฎหมายทำให้ครู ดูจะมีบทบาทน้อยลงทุกทีนอกจากมีหน้าที่สอนหนังสือไปวัน ๆ ครูที่มีเจตนาดีต้องการลงโทษด้วยความรักอยากให้เด็กสำนึกผิดก็ไม่กล้าที่จะ ทำหรือลงโทษเด็กที่ผิดเพราะมันหมิ่นเหม่ต่อกฎหมายที่ขีดเส้นกำกับไว้และไม่ มั่นใจว่าทำลงไปแล้วจะมีเรื่องมีราวและเสียเวลา จนทำให้ครูลืมบทบาทหน้าที่ขั้นพื้นฐานของครูไปแต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามันได้ จำกัดสิทธิของครูโดยไม่รู้ตัว

                 เมื่อครูลดบทบาทของตนเองลง หากมองสังคมแห่งอนาคตคงเยียวยาลำบาก สภาพสังคมไทยในปัจจุบันก็เป็นอย่างข่าวที่พบเห็นนับวันจะรุนแรงขึ้น การใช้ไม้เรียวของครูหรือผู้ปกครองเป็นวิธีที่ดีสำหรับเด็ก ๆ ที่ทำผิดต้องถูกทำโทษโดยสมเหตุสมผล การใช้ไม้เรียวทำโทษเด็กนักเรียนต้องทำด้วยความรักความเมตตาต้องอบรมสั่งสอน ให้รู้ผิดรู้ถูกหรือการลงโทษด้วยการทำสิ่งที่ดีแทนไม้เรียวเช่นการบำเพ็ญ ประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือชุมขนถือเป็นแนวคิดที่สร้างสรรค์และที่สำคัญพ่อแม่ ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูกซึ่งเด็กจะจดจำในสิ่งที่ผู้ใหญ่ทำเป็น ตัวอย่าง ไม่ใช่ว่าเข้าข้างลูกอย่างไร้เหตุผลจนแย่งไม้เรียวออกจากมือครู ไม้เรียวไม่ได้สร้างคนให้เป็นคนดีแต่เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ในการกำราบ เด็กดื้อนอกลู่นอกรอย  แต่ความเอาใจใส่ดูแลด้วยความรักความเมตตาต่างหากที่สร้างคนให้เป็นคน ดี......

                                                        

                                                       Poon / ปลายพฤษภาคม 2555

Share:

เรือจ้างใครจะแจว ?



               คิดอยู่นานว่าจะหาบทความดี ๆ อะไรที่พอจะมีสาระน่ารู้นำมาเสนอให้ท่านผู้อ่าน  ขณะที่ท่องเว็บก็ต้องมาสะดุดกับข่าวที่ไม่ดีของครูในเว็บไซต์มีข้อความว่า”ครูหื่นหลอกมอมเหล้าเด็กหญิงวัย15ปี.....” อ่านข่าวแล้วรู้สึกจิตใจหดหู่อย่างบอกไม่ถูก ข่าวที่เกิดขึ้นมันได้สะท้อนถึงความมืดบอดในด้านจริยธรรมของครูที่ประพฤติตนชวนให้น่าสลดใจเช่นนี้ ถึงแม้ว่าครูประเภทนี้จะไม่มากเท่ากับครูดี ๆ เมื่อมีข่าวเช่นนี้ทีไรสายตาของคนในสังคมมักจะมองครูดีๆ ไห้มัวหมองไปด้วย
                ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดก็ตาม”ครู”มักถูกสังคมคาดหวังมากที่สุด ในการสร้างเยาวชนให้เป็นอนาคตของชาติ สอนการเรียนรู้ทางวิชาการและสร้างความเจริญงอกงามทางสติปัญญาซึ่งเป็นหน้าที่หลัก     ส่วนหน้าที่รับผิดชอบควบคู่งานวิชาการก็คือการอบรมบ่มนิสัย สั่งสอนเด็กนักเรียนไห้เป็นคนดี มีศีลธรรมจรรยา ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ไห้ทุกอย่างต่อศิษย์และสังคม และจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทุก ๆ ด้านอีกด้วย
                 สังคมปัจจุบันเปลี่ยนไปภาพสะท้อนครูไทยในสายตาของคนในสังคมเห็นว่าความประพฤติตนเป็นแบบอย่างแก่ลูกศิษย์คือสิ่งที่ครูในปัจจุบันต้องแก้ไขเป็นอย่างมาก ครูบางคนสั่งสอนศิษย์ออกนอกลู่นอกทางหรือไม่ก็หาผลประโยชน์ต่าง ๆ ถ้าเป็นเรือจ้างก็คล้ายเรือจ้างรั่ว ๆ ที่คอยปะผุตลอดทั้งลำ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ยังมีคนทำตัวเป็นเรือจ้างที่ทำงานเพราะค่าจ้างโดยไม่มีจิตวิญญาณของความเป็นครูอยู่สักนิด แม้จะมีครูที่ประพฤติตนสมกับเป็นแม่พิมพ์ของชาติจำนวนมากที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นมืออาชีพที่น่ายกย่องคอยค้ำยันท่ามกลางสภาพความกดดันต่าง ๆ ในสังคมปัจจุบันที่เป็นยุควัตถุนิยมที่ส่งผลให้ครูสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพราะผลประโยชน์มีค่ามากกว่าจะยึดถือจรรยาบรรณครู แม้กระทั้งละเลยเทคนิคการสอนและการถ่ายทอดวิชาความรู้จนเด็กนักเรียนในปัจจุบันต้องหาที่เรียนพิเศษหรือการเรียนกวดวิชาจนต้องเดือดร้อนกระเป๋าผู้ปกครอง การสอนมักจะเน้นด้านวิชาการให้เด่นด้านเดียวแต่ไม่ได้สอนด้านจริยธรรม จนลืมว่าแก่นแท้ของการศึกษานั้นจะต้องสอนควบคู่กันไปด้วย และปัญหาสังคมคงไม่มากมายเหมือนเช่นทุกวันนี้
                 ปัจจุบันเรามักพบครูที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมมากมายในสังคมจนบางครั้งคิดว่าครูดี ๆ มีน้อยมากซึ่งคงไม่ใช่ อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะมีครูประเภทนี้อยู่ในสังคมที่ยากจะปฏิเสธ พวกเราคงต้องหาทางช่วยกันกอบกู้ภาพลักษณ์ในอาชีพที่สูงส่งเช่นนี้กลับคืนมาสู่ศรัทธาสังคมดั่งเดิม ความเป็นครูมืออาชีพเปรียบเสมือนการแจวเรือต้องสามารถนำพาศิษย์ถึงฝั่งฝัน ถ้าหากเราทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อนแล้ว”เรือจ้างใครจะแจว ?” ให้ถึงฝั่งกันเล่า....         

                                                                Poonต้นฤดูฝน พฤษภา 55

Share:

แท็บเล็ต สื่อการเรียนรู้ Tablet Pc Learning Media



                
          บทความดี ๆ ที่นำมาเสนอนี้เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ซึ่งสามารถอธิบายความหมายได้หลากหลาย แต่มีแนวทางเดียวกันในลักษณะเป็นเครื่องมือการเรียนการสอนอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงและเข้าใจเรียนรู้ในบทเรียนหรือวิธีการได้อย่างรวดเร็วมากกว่าแนวทางการเรียนที่เป็นแนวนามธรรม
         ปัจจุบันนานาประเทศได้เริ่มพัฒนาประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาปรับใช้พัฒนาตามหน่วยงานภายในของตนเองด้วยหลักการบริหารจัดการที่มีคุณภาพและประสิทธิผลสำหรับประเทศไทยของเราก็ได้พัฒนาก้าวไปพร้อมกับนานาประเทศทั้งด้านการศึกษาหน่วยงานต้องกำหนดทิศทางวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและให้ความรู้อบรมพัฒนาครูและบุคลากรพร้อมสื่อกาเรียนรู้เพื่อก้าวทันเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อนำมาถ่ายทอดกับนักเรียนได้เรียนรู้เข้าใจเนื้อหาสาระน่ารู้ของบทเรียนด้วยประสบการณ์ตรง จดจำในแบบความรู้ที่คงทนเพื่อลดช่องว่างความไม่เข้าใจวิธีการสอนที่อธิบายเป็นนามธรรม
           ส่วนภาครัฐก็มีนโยบายสนับสนุนพัฒนาทางด้านการศึกษาด้วยการแจกแท็บเล็ต (Tablet Pc) ในปีการศึกษา 2555 ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ ตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ ถือเป็นการปรับเปลี่ยนสื่อการเรียนรู้ที่แตกต่างจากสื่ออื่น ๆ โดยทั่วไป แท็บเล็ต (Tablet Pc) เป็นสื่อการเรียนเทคโนโลยีที่นิยมกันมากในปัจจุบันใช้กันอย่างแพร่หลายในด้านการศึกษาของต่างประเทศเพราะแท็บเล็ต (Tablet Pc) มีความสามารถขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นสูงสุดที่หลากหลายเช่นสามารถค้นคว้าหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ดูหนังฟังเพลง ฯลฯ  สำหรับแท็บเล็ต (Tablet Pc) ที่นำมาให้นักเรียนทั่วประเทศใช้นั้นคงจำกัดฟังก์ชัน (function) ความสามารถทั่วไปของมันลงแทนที่ด้วยสื่อประเภทมัลติมีเดีย หนังสือิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ของกลุ่มสาระการเรียนในหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นหลักสำคัญคงแตกต่างจากแท็บเล็ต (Tablet Pc) ทั่ว ๆ ไป ด้วยศักยภาพทางเทคโนโลยีของแท็บเล็ต (Tablet Pc) จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนได้ใฝ่เรียนรู้เพิ่มเติมและเสริมความรู้จากการเรียนการสอนของครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กนักเรียนในชนบทนั้นต่างอดทนรอคอยพร้อมสร้างจินตนาการก่อนเรียนแล้ว
            ผลผลิตของการศึกษาที่เรามุ่งหวังให้เด็กไทยคิดเป็นทำเป็นสามารถเปิดโลกกว้างนอกกรอบความคิด อนาคตของเด็กไทยอนาคตของชาติอนาคตการเปลี่ยนแปลงทางข้อมูลข่าวสารที่ไม่จำกัดเฉพาะอยู่ในห้องเรียน กระแสแท็บเล็ต (Tablet Pc) ภาครัฐที่จะแจกให้กับนักเรียนทั่วประเทศยังมีโพลล์ (Poll) หลากหลายสำนักที่สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่างสะท้อนถึงความกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาหลายอย่าง มุมมองของผู้เขียนเองกลับคิดว่าทุกอย่างมีข้อดีข้อเสียในตัวมันเองปัญหาภายนอกเหล่านั้นเชื่อว่าทุกฝ่ายสามารถช่วยกันแก้ไขได้แต่ปัญหาภายในที่กัดกร่อนการเรียนรู้ของเด็กโดยการปิดกั้นโลกแห่งการเรียนรู้ก็คือสื่อที่ก้าวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก แท็บเล็ตสื่อการเรียนรู้รอบตัวที่น่าลงทุนทางการศึกษาเพื่อประโยชน์ของชาติ ในระยะสั้นคงยังไม่เห็นผลที่ชัดเจนนัก ระยะยาวแล้วเด็กในวันนี้คือมันสมองของชาติในอนาคตนั่นเอง
                                         
                                                                       Poon /ต้นพฤษภา 55
Share:

การเลี้ยงผี ความเชื่อและพิธีกรรมในสังคมไทย

       การนับถือผีของมนุษย์ในแต่ละสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมเมือง สังคมชนบท นับตั้งแต่อดีตจวบปัจจุบัน เหตุการณ์ที่ไม่ดีในแต่ละวันล้วนเข้ามาเกี่ยวช้องทำให้การดำเนินชีวิตมีปัญหาและอุปสรรคเกินขอบเขต ทำให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้คน เช่น การป่วยไข้ที่รักษาแล้วไม่หายขาด การเกิดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เป็นต้น ปัญหาที่เกิดขึ้นหาที่มาทีไปไม่พบก็ลงเอยด้วยสิ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอำนาจเหนือตนเองเป็นอำนาจของภูตผีปีศาจ แม้ว่าการศึกษาจะทั่วถึงในทุกสังคมสอนให้เชื่อในเหตุและผล แต่ความเชื่อในเรื่องอำนาจเหนือตนเองก็ยังคงสืบทอดกันมาในสังคมไทยไม่เสื่อมคลาย
บทความดี ๆ เกี่ยวกับประเพณีการเลี้ยงผีซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมทางความเชื่อและผู้เลื่อมใสศรัทธาต่างเข้าร่วมพิธีการเลี้ยงผีกันอย่างมาก การเลี้ยงผีในแต่ละหมู่บ้านจะจัดขึ้นระหว่างเดือน 4 – 5 เป็นประจำทุกปี ถือเป็นประเพณีสืบทอดมายาวนาน ความเชื่อของคนในแต่ละชุมชนแตกต่างกันไป แต่มีเป้าหมายเดียวกันที่แสดงออกถึงความเคารพโดยการประกอบลัทธิพิธีกรรมพื้นบ้านขึ้นมาและยังเป็นเหตุปัจจัยสำคัญนำมาจัดพิธีกรรมพื้นบ้านที่สัมพันธ์กับนาฏกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับพิธีกรรมเช่นการรำผีฟ้าเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บและปัดเป่าโรคภัยออกจากตัว การร่ายรำและการตีกลองเพื่อบูชาผีหรือเจ้าให้เกิดความพอใจและจะบันดาลความอุดมสมบูรณ์มาให้คนในหมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข นาฏกรรมเหล่านี้เป็นผลึกสาระทางความเชื่อที่มีความสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ต่อสังคม ความเชื่อในลัทธิพิธีของชาวบ้านส่วนหนึ่งอาจทับซ้อนกับความเชื่อด้านศาสนาที่สอนให้ใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิตและลัทธิพิธีจะดูเหมือนแยกออกจากพิธีกรรมของศาสนาอย่างสิ้นเชิงแต่ความสัมพันธ์อันแนบแน่นในหลักศาสนายังคงอยู่ในจิตใจและวิถีการดำเนินชีวิตอยู่เสมอจะเห็นได้จากพิธีกรรมทางศาสนาเป็นหลักประกันความถูกต้องของสังคมและมักจะอยู่ในขั้นตอนของการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เสมอ
      หากเรายังยึดมั่นในหลักคำสอนของศาสนาแล้ว อาจมองว่าลัทธิพิธีกรรมเหล่านี้ไม่ใช่ทางออกในการแก้ไขปัญหาตามหลักเหตุและผล แต่ผลักให้งมงายและไม่ได้ช่วยให้เกิดปัญญา แต่เราก็ควรเคารพในสิทธิทางความเชื่อและประโยชน์ทางใจของแต่ละบุคคล ส่วนสาระน่ารู้ด้านสังคมวัฒนธรรมประเพณีสิ่งเหล่านี้เราควรอนุรักษ์ให้อยู่คู่สังคมไทยต่อไป

                                                    
                                                   พูลศักดิ์   อุดมเดช       บันทึกบทความ






Share:

Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Followers

Social Icons

twitterfacebookgoogle pluslinkedinrss feedemail

โพสต์ ยอดนิยม

ไม้เรียวสร้างคน

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

กิจกรรมนักเรียนชั้นป.6 (นาเพียงเก่า)

About Us