สมัยจีนโบราณมีสำนักปรัชญาเกิดขึ้นหลายสำนัก ต่างก็มุ่งสร้างสังคมตามแนวคิดของตน คนไทยส่วนมากจะคุ้นกับชื่อของ”ขงจื้อ” ส่วน ”ม่อจื้อ”ก็พอจะมีคนรู้จักมากพอสมควรซึ่งเป็นนักปรัชญาชาวจีน นับได้ว่าเป็นคู่แข่งผู้หนึ่งของ”ขงจื๊อ” ในด้านแนวความคิดที่เป็นปฏิปักษ์กัน
สำหรับ”จางจื้อ” เท่าที่ผมลองถามคนรอบข้างดู
มีคนรู้จักปราชญ์จีนท่านนี้น้อยมาก ส่วนมากรู้จักแต่ ”ท่านเปาบุ้นจิ้น” กัน
”จางจื้อ” นักปราชญ์จีนโบราณ ถามตัวเองว่ารู้จักท่าน”จางจื้อ” มากแค่ไหน
ขอสารภาพว่ารู้เพียงไม่มากแต่ก็เป็นสิ่งที่อยากให้ติดตามค้นคว้า ไม่ถึงกับว่าเป็นสาวกของลัทธิเต๋าหรอกนะ
ซึ่งว่ากันจริงๆแล้วศาสนาต่างกับลัทธิตรงที่มี”พิธีกรรม”
สำหรับเรื่องการก่อกำเนิดก็มีเวลาที่ยาวนานมากพอกัน ปัจจุบันส่วนมากแล้วคำว่า”ลัทธิ”
คนส่วนใหญ่ที่ไม่เข้าใจอาจมองในแง่ลบก่อนเสมอเพราะลัทธิถูกใช้เรียกในทางที่ไม่ดีให้กับชาวโลกได้รับรู้ก็มีหลายลัทธิ
และการที่เขียนถึงสิ่งนี้แค่อยากจะแบ่งปันสาระแง่มุมในการมองโลกที่เห็นต่างมาเล่าตามแบบฉบับของผม
เต๋า แปลว่า หนทาง หรือ มรรคา ลัทธิเต๋าผู้เป็นศาสดาคือ เล่าจื้อ(เหลาจื้อ)
ส่วนศิษย์คนสำคัญคือ จางจื้อ เป็นผู้สืบทอดและขยายความหมายของเต๋าจนกลายเป็นปรัชญาเต๋าที่สมบูรณ์
โดยมี “เต๋าเต๋อจิง”
(Tao Te Ching) เป็นคัมภีร์ที่สำคัญของปรัชญาเต๋า
หลักคำสอนและแนวทางของลัทธิเต๋าคือการครองชีวิตอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติเพื่อความสงบในจิตใจ
สัญลักษณ์ :"หยินหยาง"
ส่วนแนวคิดสำคัญในลัทธิเต๋าคือ
เรื่อง "หยินหยาง" ซึ่งหมายถึง ธรรมชาติที่เป็นของคู่ตรงกันข้าม
หยิน คือ พลังลบ มีลักษณะสีดำ เป็นพลังเพศหญิง พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความหนาวเย็น
ความมืด อ่อน ลึกลับ เงามืด น้ำ เป็นต้น
หยาง คือ พลังบวก มีลักษณะสีแดง เป็นพลังเพศชาย พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความอบอุ่น
สว่างไสว มั่นคง สดใส เช่น ดวงอาทิตย์ ไฟ
หยาง คือ พลังบวก มีลักษณะสีแดง เป็นพลังเพศชาย พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความอบอุ่น
สว่างไสว มั่นคง สดใส เช่น ดวงอาทิตย์ ไฟ
ในชีวิต “หยินและหยาง” ก่อให้เกิดความล้มเหลวและความสำเร็จได้ทุกเมื่อ
ฤดูหนาวเรามักทานอาหารอุ่นๆทำร่างกายให้คลายหนาวเพื่อคืนความสมดุลย์ของร่างกาย
ตามตำราจีน คือการเรียนรู้ธรรมชาติ ปรับตัวและอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
รู้หลักการเปลี่ยนของสภาพ และรู้จัก”หยินหยาง”
ว่ากันว่าในบรรดาปรัชญาของจีน
ปรัชญาเต๋าเข้าใจยากที่สุด และ "คิดต่าง" ที่สุด เช่นคำกล่าวที่ว่า “โชคดี”กับ”โชคร้าย”สามารถเปลี่ยนพลิกไปมาระหว่างกันได้
“โชคดี”มีอยู่ใน“โชคร้าย”
“โชคร้าย” มีอยู่ใน“โชคดี” “มี คือ ไม่มี" และ "ไม่มี คือ มี”
เหล่านี้ล้วนให้เราหยุดคิด ทำความเข้าใจย้อนกลับไปกลับมาอย่างรอบคอบเพราะทุกอย่างล้วนเปลี่ยนแปลงได้ตลอด
เมื่อเรารู้กฎเกณฑ์และแนวทางของ”เต๋า”แล้ว
ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะต้องทำความเข้าใจในหลักปรัชญาแม้ว่าบางทีเข้าใจง่าย บางทีเข้าใจยากก็ตาม กอปรกับการสอนของ ”จางจื้อ” ชอบยกนิทานมาเปรียบเทียบสิ่งนี้เองทำให้การสอนสนุกและน่าสนใจวันหลังผมจะนำนิทานมาเล่าให้ฟังวันนี้แค่น้ำจิ้มก็พอ...
เรื่องเล่าว่า
ท่าน ”เล่าจื่อ” ผ่านป่าแห่งหนึ่ง ป่านั้นคนตัดไม้มากมาย เหลือไว้เพียงต้นหนึ่ง
เพราะมันไม่มีประโยชน์ เป็นไม้ที่มีปุ่มตาเต็มไปหมด ไม่เหมาะแก่การเอามาใช้งาน
ด้วยเหตุนี้มันจึงรอด ให้ร่มเงาแก่คนเดินทาง ท่าน ”เล่าจื่อ” ได้พักผ่อนใต้ร่มเงานั้น
ทำให้คิดได้ว่า ประโยชน์กลับไม่เป็นประโยชน์… ไม่เป็นประโยชน์กลับเป็นประโยชน์ แฮะๆ.. งง มั๊ย ? นี่หละ”เต๋า” !
...โดย พูลศักดิ์ อุดมเดช
20/05/58
ขอบคุณที่มาภาพประกอบ :
https://asinnaw.wordpress.com/category/ศาสนา-ความเชื่อจีน/ลัทธิเต๋า/
http://www.finearts.go.th/mahavirawongmuseum/parameters/km/item/เครื่องหมายหยิน - หยาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น